ชีววิทยาหนูและพฤติกรรมของหนู | |||||||
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตหนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เวย์ และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี ความเป็นอยู่ทั่วๆ ไป หนูมีความสามารถในการเรียนรู้ คุ้นเคย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี การเป็นอยู่ในรังจะมีหัวหน้า ทำหน้าที่ออกสำรวจหาอาหาร หนูตัวเมียถ้ามีลูกโตพอสมควรมันจะพาลูกๆ ออกไปหากินพร้อมๆ กัน และสอนให้ลูกๆ รู้จักหาอาหารอย่างปลอดภัย ลูกหนูเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน แล้วมักแยกตัวมาอยู่อิสระในช่วงนี้หนูจะมีความรวดเร็วว่องไวในการเคลื่อนไหว และกินอาหารมาก การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แปลกๆหนูมีความฉลาดเฉลียวในการสังเกตระมัดระวังต่อสิ่งแปลกปลอมที่ไม่คุ้นเคยต่างๆ รวมทั้งแสง เสียง อาหาร สภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการวางยาเบื่อหรือใช้เหยื่อล่อใส่ในกรงหนูจึงต้องระมัดระวังให้มีความพอเหมาะ เช่น การผสมยาเบื่อหนู ถ้าผสมข้นเกินไป กลิ่นแรงผิดสังเกตหนูจะไม่ยอมกินเหยื่อนั้น ต้องวางเหยื่อนั้นหลายๆ วัน จนหนูคุ้นเคยจึงผสมยาเบื่อให้หนูกิน หรือนำไปเป็นเหยื่อสำหรับล่อให้หนูมากิน
การกระโดด หนูมีความสามารถในการกระโดดดีมาก ไม่ว่าจะเป็นการกระโดดในแนวพื้นราบ ขึ้นสูงหรือลงข้างล่าง เช่น พวกหนูท้องขาว สามารถกระโดดจากระดับพื้นดินได้สูง 18 – 24 นิ้ว และถ้ามีทางวิ่งมันสามารถกระโดดได้สูงถึง 3 ฟุต ถ้ากระโดดในแนวราบมันไปได้ไกลถึง 8 ฟุต และถ้ากระโดดในแนวดิ่งมันสามารถกระโดดลงมาจากที่สูงถึง 15 ฟุตได้ โดยปลอดภัยทำให้มันมีความรวดเร็วว่องไวในการหลบหนีศัตรูได้ดีมาก
การขุดโพรงรู หนูบ้านทุกชนิดสามารถขุดรูหรือโพรงได้ เช่น พวก หนู นอร์เวย์สามารถขุดโพรงได้เก่ง ความยาวของโพรงที่ขุดประมาณ 3 ฟุต ความลึกของโพรงตามแนวดิ่งประมาณ 1 ฟุต ส่วนหนูท้องขาวและหนูหริ่งนั้นเก่งในทางปีนป่ายชอบทำรังเหนือพื้นดินบนบ้าน แต่ถ้าหากภายในบ้านไม่มีที่เหมาะสมสำหรับทำรัง และบริเวณพื้นดินรอบๆ บ้านหรือใต้ถุนบ้านไม่มีหนูนอร์เวย์ มันอาจจะขุดรูอยู่ก็ได้ และหนูหริ่งก็เช่นกัน ถ้ามันมีความจำเป็นและบริเวณนั้นๆ ไม่มีหนูที่ใหญ่กว่าอยู่ มันจึงจะขุดรูและทำรังอยู่อาศัย
นิสัยการกินอาหาร หนูสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด หนูมีช่วงเวลาออกหากินแตกต่างกันในแต่ละชนิด แต่เมื่อพบอาหารแล้วมักจะพยายามคาบไปซ่อนไว้ ถ้าอาหารเป็นชิ้นใหญ่มันจะใช้เวลาคาบหรือชักลากไป แต่ถ้าชิ้นอาหารเล็กมากมันจะกินตรงบริเวณนั้นไม่นำกลับ การกินอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยมักเป็นในลักษณะชิม เพื่อทดสอบว่าอาหารนั้นเป็นพิษสำหรับมันหรือไม่
ประสาทความรู้สึก หนูทุกชนิดมีประสาทความรู้สึกไวมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมกำจัดให้ได้ผล
การเห็น หนูมีระบบประสาทมองไม่ดี มองเห็นได้ไม่ไกลและตาบอดสี เห็นเฉพาะสีขาวดำ ฉะนั้นจึงมองเห็นในเวลากลางคืนดีกว่ากลางวัน
การได้ยิน หนูได้ยินเสียงในระยะเพียงประมาณ 6 นิ้วเท่านั้น
|
หนูที่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข (ชนิดของหนู) | ||||||||
หนูที่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข คือ หนูที่อาศัยทำรังและหากินอยู่ในบ้านหรือบริเวณรอบๆ บ้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ 4 ชนิด มีดังนี้
|
พาหะนำโรค |
หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค ได้แก่ กาฬโรค โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม |