ยุง (Mosquito)
ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลก แต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes)
วงจรชีวิต และลักษณะโดยทั่วไปของยุง |
ยุงมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ หมายถึง
การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่างกันมาก
แบ่งเป็น 4 ระยะ คือระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัย
ระหว่างการเจริญเติบโต ในแต่ละระยะ ต้องมีการลอกคราบ ซึ่งถูกควบคุม
โดยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด
|
|
ระยะไข่
ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน จากลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของกลุ่มยุงได้ ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือ บริเวณชื้น เช่น บริเวณขอบภาชนะหรือระดับน้ำการวางไข่ของยุงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- วางไข่ใบเดี่ยวๆ บนผิวน้ำ เช่น ยุงก้นปล่อง
- วางไข่เป็นแพบนผิวน้ำ เช่น ยุงรำคาญ
- วางไข่เดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ เช่น ยุงลาย
ยุงรำคาญวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำ
- วางไข่ติดกับใบพืชน้ำเป็นกลุ่ม เช่น ยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย
|
ระยะไข่ใช้เวลา 2-3 วัน จึงฟักตัวออกเป็นลูกน้ำ ในยุงบางชนิดไข่สามารถอยู่ในสภาพแห้งได้หลายเดือนจนกระทั่งเป็นปี เมื่อมีน้ำก็ฟักออกเป็น ลูกน้ำ แหล่งวางไข่ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนยุงรำคาญชอบวางไข่ในแหล่งน้ำ สกปรกต่างๆ น้ำเสียจากท่อระบายน้ำ แต่หากไม่พบสภาพน้ำที่ชอบยุงก็อาจวางไข่ในสภาพน้ำที่ผิดไป
ระยะลูกน้ำ
ลูกน้ำแต่ละชนิดอาศัยอยู่ในน้ำต่างชนิดกัน เช่น ภาชนะขังน้ำต่างๆ ตามบ่อน้ำ หนอง ลำธาร โพรงไม้หรือกาบใบไม้ที่อุ้มน้ำ เป็นต้น ลูกน้ำยุงส่วนใหญ่ลอยตัวขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ โดยมีขนลักษณะคล้ายใบพัด ช่วยให้ลอยตัวและหายใจซึ่งอยู่ด้านข้างของอกและลำตัว ส่วนยุงเสือจะใช้ท่อหายใจซึ่งสั้นและปลายแหลมเจาะพวกพืชน้ำและหายใจเอา ออกซิเจนผ่านรากของพืชน้ำ อาหารของลูกน้ำยุง ได้แก่ สิ่งมีชีวิต เล็กๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย ลูกน้ำจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่ง การเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำ ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของลูกน้ำ อาหาร อุณหภูมิ และความหนาแน่นของลูกน้ำด้วย
|
ระยะตัวโม่ง
ตัวโม่งรูปร่างผิดไปจากลูกน้ำ ส่วนหัวเชื่อมต่อกับส่วนอก รูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องหมายจุลภาค (,) ระยะนี้ไม่กินอาหาร เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีท่อหายใจคู่หนึ่งที่ส่วนหัวเรียก trumpets ระยะนี้ใช้เวลาในการเจริญเติบโตเพียง 1-3 วัน
ระยะตัวเต็มวัย
ตัวยุงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนหัว
มีลักษณะ กลมเชื่อมติดกับส่วนอก ประกอบด้วยตา 1 คู่ ตาของยุงเป็นแบบตาประกอบ มีหนวด 1 คู่มีระยางค์ปาก 1 คู่ และมีอวัยวะ เจาะดูด 1 อัน มีลักษณะเป็นแท่งเรียวยาวคล้ายเข็มสำหรับแทงดูดอาหาร หนวดของยุงแบ่งเป็น 15 ปล้อง สามารถใช้จำแนกเพศของยุงได้ แต่ละปล้องจะมีขนรอบๆ ในยุงตัวเมียขนนี้จะสั้นและไม่หนาแน่น เรียกว่า pilose antenna ส่วนตัวผู้ขนจะยาวและเป็นพุ่มเรียกว่า plumose antenna หนวดยุงเป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับคลื่นเสียง ตัวผู้จะใช้รับเสียงการกระพือปีกของตัวเมีย ความชื้นของอากาศและรับกลิ่น
Labial palpi แบ่งเป็น 5 ปล้อง อยู่ติดกับ proboscis ในยุงก้นปล่องตัวเมีย plapi จะตรงและยาวเท่ากับ proboscis ส่วนยุงตัวผู้ตรง ปลาย palpi จะโป่งออกคล้ายกระบอง ในยุงอื่นที่ไม่ใช่ยุงก้นปล่อง palpi ของตัวเมียจะสั้นประมาณ 1/4 ของ proboscis ส่วนตัวผู้ palpi จะยาวแต่ ตรงปลายไม่โป่งและมีขนมากที่สองปล้องสุดท้ายซึ่งจะงอขึ้น
ส่วนอก
มีปีก 1 คู่ ด้านบนของอก ปล้องกลางปกคลุมด้วยขนหยาบๆ และเกล็ด ซึ่งมีสีและลวดลายต่างๆ กัน เราใช้ลวดลายนี้สำหรับแยก ชนิดยุงได้ ด้านข้างของอกมีเกล็ดและกลุ่มขนซึ่งใช้แยกชนิดของยุงได้เช่นกัน ด้านล่างของอกมีขาโดยขาแต่ละข้างจะประกอบด้วย coax ซึ่งมีขนาดสั้นอยู่ที่โคนสุด ต่อไปเป็น trochanter คล้ายๆ บานพับ femur , tibi และ tarsus ซึ่งมีอยู่ 5 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีหนามงอๆ 1 คู่ เรียกว่า claws ขาก็มีเกล็ดสีต่างๆ ใช้แยกชนิดของยุงได้ ปีกมีลักษณะแคบและยาว มีลายเส้นปีก veins ซึ่งมีชื่อเฉพาะของแต่ละเส้นปีกและ จะมีเกล็ดสีต่างๆ กัน ตรงขอบปีกด้านหลังจะมีขนเรียงเป็นแถวเรียก เกล็ด และขนบนปีกนี้ก็ใช้ในการแยกชนิดของยุงได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมี halteres 1 คู่ อยู่ที่อกปล้องสุดท้ายมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ อยู่ต่อจากปีก เมื่อยุงบิน halteres จะสั่นอย่างเร็วใช้ประโยชน์ในการทรงตัว ของยุง
ส่วนท้อง
มีลักษณะกลม ยาว ประกอบด้วย 10 ปล้อง แต่จะเห็นชัดเพียง 8 ปล้อง ปล้องที่ 9-10 จะดัดแปลงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ในยุงตัวผู้จะใช้ ส่วนนี้แยกชนิดของยุงได้
|
วงจรชีวิตของยุง
|
ชนิดยุงที่สำคัญ |
ยุงลายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ |
1. ยุงลายบ้าน
เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย (ในประเทศอเมริกาใต้
นำโรคไข้เหลือง yellow fever) มีถิ่นกำเนิดจากอัฟริกา ชอบอาศัยอยู่ในบ้านหรือ
บริเวณรอบๆ บ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย ได้แก่ ภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
เช่น ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ใส่น้ำ บ่อคอนกรีตในห้องน้ำ จาน รองขาตู้กันมด ยางรถ
ยนต์เก่า กระป๋อง แจกัน รางน้ำฝนที่มีน้ำขัง กะลามะพร้าว เป็นต้น
ยุงลายบ้านมีวงจรชีวิตเป็นแบบสมบูรณ์เช่นเดียวกับยุงชนิดอื่น การเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
|
ตระกูลยุงคิวเล็กซ์หรือยุงรำคาญ
► ยุงรำคาญ Cluex quiquefasciatus
- พบมากในแอฟริกาและเอเชีย วางไข่เป็นแพในน้ำเน่าเสีย แหล่งเพาะพันธุ์มักอยู่ไกลบ้าน ไข่แพหนึ่ง มีประมาณ 200-250 ฟอง ไข่ฟักภายใน 30 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 24-30 องศาเซลเซียส ออกหากินกลาง คืน ชอบกินเลือดคน ในประเทศพม่า อินเดีย อินโดนีเซีย ยุงชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญในการนำ โรคฟิลาเรีย สำหรับประเทศไทยพบว่ายุงชนิดนี้สามารถนำเชื้อฟิลาเรียได้เช่นกันแต่ยังมี ข้อมูลน้อย นอกจากนี้อาจทำให้มีอาการคันแพ้และเกิดเป็นแผลพุพองได้
► Cluex Tritaeniorhynchus
- ยุงชนิดนี้เป็นตัวนำเชื้อไวรัส Japanese encephalitis ซึ่งทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบทั่วไป ในประเทศไทย แต่พบมากในจังหวัดภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ น่าน แหล่งเพาะ พันธุ์อยู่ตามท้องนา แหล่งน้ำที่เกิดจากรอยเท้าสัตว์ บ่อน้ำเล็กๆ ที่มีพืชน้ำ ลำธาร ชอบกินเลือดวัว
ควาย หมูมากกว่าเลือดคนและนก ออกหากินตั้งแต่พลบค่ำจนตลอดคืน ส่วนมากหากินนอกบ้าน |
► Cluex Gelidus
- เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ เช่นเดียวกับ Cx. Tritaeniorhynchus แหล่ง เพาะพันธุ์ได้แก่ สระน้ำ บ่อ หนองน้ำ น้ำล้างคอกสัตว์ ลำธารเล็กๆ ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำ หากินกลางคืน ชอบกินเลือดสัตว์
► Clux Fuscocephala
- เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ พบตามหนองน้ำ บึงนาข้าว หากินกลางคืน ชอบ กินเลือดสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู นก และคน |
ตระกูลยุงก้นปล่อง
ยุงตระกูลนี้เป็นตัวนำโรคมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium ยุงก้นปล้องที่เป็นพาหะสำคัญในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ
► Anopheles minimus
- เพาะพันธุ์ตามลำธารที่มีน้ำใสสะอาดไหล ไหลช้าๆ มีหญ้าขึ้นตามขอบและมีร่มเงาเล็กน้อย พบในท้อง ที่แถบเขาหรือใกล้เขา เกาะพักในบ้านที่ค่อนข้างมืดตอนกลางวัน แต่ในบางท้องที่ไม่เกาะพักในบ้าน ชอบกินเลือดคนมากกว่าสัตว์
► Anophels dirus (A. balabacensis)
- เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่ง มีร่มเงา เช่น ตามปลักโคลน รอยเท้าสัตว์และแหล่งน้ำชั่วคราวอื่นๆ ที่มีน้ำ ใส มีใบไม้แห้ง ถังซีเมนต์ รดน้ำต้นไม้ในสวน ชอบอยู่ตามเขาและป่าเชิงเขา กัดคนตอนกลางคืน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. และมากที่สุดหลังเที่ยงคืน มีนิสัยชอบเกาะพักนอกบ้าน ชอบกินเลือดคน
► Anopheles sundaicus
- เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำกร่อยที่มีแสงแดดส่องถึงพบทางแถบชายทะเล หากินนอกบ้าน ไม่มีรายงานเกาะพักในบ้าน
► Anopheles maculates
- เพาะพันธุ์ตามท้องที่ป่าเขา ป่าบุกเบิกทั่วไป แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ลำธารเล็กๆ ที่มีแสงแดดส่องถึง คล้ายแหล่งเพาะพันธุ์ ของ A. Minimus ตัวเต็มวัยชอบเกาะพักตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กินเลือดทั้งคนและสัตว์ หากินนอกบ้านมากกว่าในบ้าน
วงจรชีวิตของยุงก้นปล่อง มีอยู่ 4 ระยะ เช่นกัน
ระยะไข่ - ยุงก้นปล่องจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว บนผิวน้ำในตอนกลางคืนครั้งละประมาณ 150 ฟอง ไข่รูปร่างคล้ายเรือ บริเวณสองข้างตอนกลาง ของฟองไข่มีเยื่ออากาศเป็นทุ่นเรียกว่า float เป็นส่วนที่ทำให้ไข่ลอยน้ำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไข่ยุงในตระกูลยุงก้นปล่อง ไข่ใช้เวลา 2-3 วัน จึงฟักตัวเป็นลูกน้ำ
ระยะลูกน้ำ - มีการลอกคราบ 4 ครั้ง ลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่งใช้เวลาประมาณ 13-15 วัน หรือมากกว่านั้น ที่อุณหภูมิต่ำลูกน้ำ วางตัวขนานกับผิวน้ำ มีขนรูปพัดเรียกว่า palmate hairs ปรากฎอยู่บนปล้องท้องเกือบทุกปล้องทำหน้าที่พยุงลูกน้ำให้ลอยตัวเป็นลักษณะ เฉพาะของลูกน้ำยุงก้นปล่อง
ระยะตัวโม่ง – ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวยุงพร้อมที่จะบิน รวมระยะเวลาจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัย ประมาณ 17-21 วัน
ระยะตัวเต็มวัย – ยุงตัวเมียผสมพันธุ์ได้ทันที การผสมพันธุ์เพียงครั้งหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 5-6 ชุด แต่จะต้องได้รับเลือดก่อนทุกครั้ง เมื่อได้ กินเลือดแล้วยุงตัวเมียจะไปเลือกที่สงบเกาะพักรอให้ไข่สุก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง แล้วจะบินไปหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมเพื่อวางไข่ยุง ที่วางไข่ เรียกว่า parous ส่วนยุงที่ยังไม่เคยวางไข่เรียกว่า nulliparous |
ตระกูลยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย
ยุง ในตระกูลนี้ที่สำคัญและเป็นตัวการนำโรคฟิลาเรีย Filariasis ซึ่งเกิดจากเชื้อ Brugia malayi ทางภาคใต้ของประเทศไทย ชนิดที่พบแพร่หลายได้แก่
► Mansonia uniformis
► Mansonia dives
► Mansonia bonneae
► Mansonia annulifera
วงจรชีวิตของ ยุง Mansonia เป็นแบบสมบูรณ์ complete metamorphosis เช่นเดียวกับ ยุงอื่นๆ ระยะเวลาการเจริญเติบโตค่อนข้าง ยาว จากไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 23-30 วัน มี4 ระยะ คือ
ระยะไข่ - ไข่จะถูกวางติดกับด้านใต้ของใบพืชน้ำ มีสีคล้ำ เกาะกันอยู่เป็นกระจุกรูปร่างคล้ายกลีบดอกไม้ กลุ่มหนึ่งประกอบด้วยไข่ประมาณ 75-200 ฟอง ไข่ใช้เวลา 2-3 วัน จึงฟักเป็นตัวลูกน้ำ
ระยะลูกน้ำ - มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ท่อหายใจ siphon มีลักษณะรูปกรวยสั้น ปลายแหลมหยักคล้ายใบเลื่อยใช้เจาะติดกับต้นหรือรากพืชน้ำ มีลิ้น ปิดเปิดแข็งแรงมาก หายใจโดยได้รับออกซิเจนจากเซลล์ของพืชน้ำ ใช้เวลาเจริญเติบโต 16-20 วัน
ระยะตัวโม่ง – ท่อหายใจดัดแปลงรูปร่างเพื่อแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชน้ำใช้เวลา 5-7 วัน
ระยะตัวเต็มวัย – ยุงชนิดนี้แตกต่างจากยุงชนิดอื่นๆ ตรงที่เกล็ด Scale บนปีกมีสีสันลวดลายแปลกตาโดยมากเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะที่เกล็ด มีลักษณะกลมและใหญ่กว่ายุงชนิดอื่น ยุงชนิดนี้หากินกลางคืน เมื่อผสมพันธุ์และกินเลือดแล้วมักจะเกาะพักบริเวณยอดหญ้ารอจนไข่สุกจึงไป วางไข่ในแหล่งเพาะพันธุ์ตามบึง หรือหนองน้ำที่มีพืชน้ำ เช่น พวกจอก และผักตบชวา ยุงตัวเมียหากินนอกบ้าน ชอบกินเลือดวัว สุนัข แพะ สัตว์ปีก และคน เวลาที่ออกหากินมากที่สุดเป็นช่วงพลบค่ำและก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจพบออกหากินเวลากลางวันในบริเวณที่ความชื้นสูงมีร่ม เงา ยุงตัวเมียกินเลือดเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอต่อการเจริญของไข่ ระยะเวลาในการสร้างไข่ประมาณ 4-5 วัน |
|