แมลงวัน (Fly)

 
แมลงวัน จัดอยู่ในวงศ์ Diptera พบได้แทบทุกแห่งในโลกเป็นจำนวนมาก บางชนิดเป็นพวกหา กินอย่างอิสระเป็นตัวเบียนของคนและสัตว์ ทำให้เกิดความรำคาญหรือเป็นพาหะนำโรคสามารถนำโรค ติดต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค และโรคหนอนพยาธิบางชนิด นอกจากนั้นยังสามารถนำโรคเรื้อน โปลิโอ โรคผิวหนังบางชนิด เช่น คุดทะราดและโรคติดต่อทางตา เช่น โรคตาแดง แมลงวันทำให้เกิดความรำคาญในพื้นที่ที่มีแมลงวัน ชุกชุมจะพบว่าแมลงวันเป็นสาเหตุหรือเป็นตัวที่ทำให้เกิดความรำคาญมากที่สุด ทั้งในร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดจนบริเวณที่พักผ่อนหย่อนใจมันจะเป็นตัวก่อ ให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะระหว่างการรับประทาน อาหาร แมลงวันที่พบตามฟาร์มปศุสัตว์อาจก่อให้เกิดปัญหา ด้านปศุสัตว์อย่างมหาศาลได้
ชนิดแมลงวันที่สำคัญ
แมลงวันบางชนิดชอบอยู่ใกล้ชิดคนทั้งในและนอกอาคารที่อยู่อาศัยหรือตามเขต ชุมชนแมลงวันที่พบตามอาคารบ้านเรือนในประเทศไทยมีดังนี้

1. แมลงวันบ้าน

พบแพร่หลายทั่วโลก 99% ของแมลงวันที่อยู่ในเขตชุมชน ตามอาคารบ้านเรือนมัก จะเป็น แมลงวันชนิดนี้ แมลงวันบ้านเป็นตัวถ่ายทอดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดกับตา และ โรคทางเดินอาหาร โรคท้องร่วง เชื้อโรคเป็นจำนวนมากอาจติดมากอยู่กับขาหรือออกมากับน้ำลายที่ สำรอกออกมาเพื่อละลายน้ำตาล อาหาร และนอกจากนี้การถ่ายของเสียออกมาด้วยทำให้เปื้อนเป็นจุดๆ ตัวที่กินอิ่ม จะถ่ายออกมาทุกๆ 5 นาที ตลอดวัน แมลงวันอาจเป็นตัวสำคัญที่สุดของโรคท้องร่วงอย่าง รุนแรงในคนและสัตว์ นอกจากนี้ก็พบว่าเป็นที่อาศัย ของเชื้อ poliomyelitis ซึ่งเชื้อนี้อาจจะเป็นตัว ทำให้เกิดเป็นอัมพาตได้ ไข่ของพยาธิที่มีขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอน
ก็อาจแพร่กระจายติดไปกับตัว แมลงวันได้

ลักษณะที่สำคัญ 

ลำตัวสีเทาดำ ขนาด 5-6 มิลลิเมตร มีแถบตามยาวสีเทาเข้มหรือดำ 4 เส้น ที่ด้านบนของส่วนอก ส่วนปากเป็น sponging type เส้นปีกที่ 4 โค้งขึ้นไปหาเส้นปีกที่ 3 ชัด ขาทุกคู่มี tarsi 5 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมี claw และ pulvilli ซึ่งเต็มไปด้วย glandular hairs ซึ่งทำหน้าที่กลั่น สารอย่างหนึ่ง มีผลให้ pulvilli เปียกอยู่เสมอ เวลาแมลงวันบินไปเกาะบนสิ่งใดก็ตาม เศษชิ้นเล็กๆ ของสิ่งนั้นจะติดขึ้นมาด้วย






วงจรชีวิต

วงจรชีวิตของแมลงวันบ้าน มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ ชอบวางไข่ตามมูลสัตว์ โดยเฉพาะที่ยังสดใหม่อยู่ จะเป็นที่ที่มันชอบวางไข่มาก กว่าพวกที่ย่อยสลายไปบ้างแล้ว

ระยะไข่

วางตามรอยหรือตามร่องของอาหารหรือวัสดุที่เป็นอาหาร ตัวเมียอาจวางไข่ครั้งเดียวเป็นจำนวนมาก หรือวางเป็นกลุ่มหลายๆ ครั้งก็ได้ ตัว เมียวางไข่ได้ถึง 2,000 ฟอง ไข่ยาวประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายแบบ banana-shaped ทางด้าน dorsal มีแนวตามยาว 2 แนว สีขาวนวล ไข่ฟักภายใน 6-12 ชั่วโมง

 ระยะตัวหนอน

สีขาวนวลตัวเต็มที่ขนาด 10-14 มิลลิเมตร หนอนหัวเรียวและท้ายป้าน มี 12 ปล้อง ทางด้านหัวมีอวัยวะคล้ายตะขอ mouth มี posterior spiracle 1 คู่ หนอนมี 3 ระยะ เจริญเต็มที่ในเวลา 5-6 วัน ในอุณหภูมิปกติ 27-30 องศาเซลเซียส เวลาเข้าดักแด้จะคลานไปที่แห้งกว่า


ระยะดักแด้ 

ระยะดักแด้ประมาณ 4-5 วัน ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ โดยการใช้อวัยวะพิเศษเรียกว่า ptilinum ดันให้ฝาเปิดออก 
 

ระยะตัวเต็มวัย

มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 1 เดือน ตัวเมียแต่ละตัววางไข่ประมาณ 120-140 ฟองต่อครั้ง และอาจวางไข่ได้ถึง 5-6 ครั้งตลอดวงจรชีวิต ดังนั้นแมลงพวกนี้จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในเวลาอันสั้น ในเขตร้อนชื้นแมลงวันแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี   

2. แมลงวันหัวเขียว 

แมลงวันหัวเขียวมีลำตัวค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 9-15 มิลลิเมตร สีเขียวอมน้ำเงินสะท้อนแสง มี หนวดแบบ arista ที่มีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง พบทั่วไปตามบ้านเรือนโดยเฉพาะตามแหล่งที่มี อาหารเน่าเสีย ซากสัตว์ที่ตายใหม่ๆ หรือตามกองขยะในเคหะชุมชน จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีของ แมลงวันหัวเขียวไข่ของแมลงวัน หัวเขียวมีขนาดยาว สีขาว เป็นกลุ่ม บนซากสัตว์ที่ตายแล้วหรือ บนบาดแผลของสัตว์หลังจากตัวหนอนฟักออกมาจาก ไข่จะกินซากสัตว์ที่แม่ของมันวางไข่ไว้ เมื่อ ตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าดักแด้บนซากสัตว์นั้นต่อไป บางครั้ง ตัวหนอนที่อยู่บนเนื้อสัตว์ อาจจะถูกมนุษย์รับประทานเข้าไปโดยบังเอิญ เป็นสาเหตุให้เกิดโรค myiasis ในมนุษย์และ สัตว์ เลี้ยงได้ ฉะนั้นในการรับประทานเนื้อสัตว์ควรจะปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง บางครั้งพบว่าแมลงวัน หัวเขียวสามารถ วางไข่บนจมูก ปาก หูและตาของสัตว์เลี้ยงได้

วงจรชีวิต

จะสูงในช่วงที่มีอาหารสมบูรณ์และอากาศอบอุ่น วงจรชีวิตจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 11-16 วัน ที่อุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส ระยะไข่ใช้เวลา 6-12 ชั่วโมง จึงฟักออกมาเป็นตัวหนอน มีด้วยกันทั้งหมด 3 วัย คือ หนอนวัยที่ 1 หนอนวัยที่ 2 และหนอนวัยที่ 3 ตัวหนอน จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงเข้าดักแด้ หลังจากนั้นจะใช้เวลาอีกประมาณ 3 วัน จึงออกจากดักแด้กลายเป็นตัวเต็มวัยพร้อมที่จะสืบพันธุ์ต่อไป ตัวเต็มวัย มีชีวิตอยู่ได้เฉลี่ย 8-16 วัน ตัวผู้จะอยู่ได้นานกว่าตัวเมีย ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 4-15 ฟองที่สภาพเหมาะสมตัวเมียวางไข่ได้สูงสุดเกือบ 400 ฟอง 
 

 3. แมลงวันหลังลาย 

แมลงวันหลังลายมีลำตัวใหญ่สีเทา ขนาด 10-13 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นคือ มีแถบดำ 3 เส้นตาม ยาวที่ส่วนอก ส่วนท้องด้านบนมีลายรูปเหลี่ยมสีเทาเข้มหรือดำ แมลงวันหลังลายจะหาน้ำหวานดอกไม้ น้ำผลไม้ แต่พวกมันจะไวต่อขยะ ซากวัตถุสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อย แผลและมูลสัตว์ แมลงวันหลังลายไม่ ใคร่พบเข้า มาทำความรำคาญในบ้านเรือน ตัวอ่อนของแมลงวันเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของโรค intestinal myiasis ในมนุษย์ และสัตว์

วงจรชีวิต

จากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 16-27 วัน ภายใต้อุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส ตัวเมียจะวางไข่และ เจริญเติบโตในตุ่มหนอง ผิวหนัง ซากเน่า อุจจาระ ระยะไข่ใช้เวลา 6-12 ชั่วโมง หรือ 1 วัน จึงฟัก ออกมาเป็นตัวหนอน มีทั้งหมดด้วยกัน 3 วัย ระยะตัวหนอนจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงเข้าดักแด้ ประมาณ 6 วัน จึงออกจากดักแด้กลาย เป็นตัวเต็มวัยพร้อมที่จะสืบพันธุ์ต่อไป ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ นานประมาณ 20 วัน วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 3-36 ฟอง ตัวเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 4-5 ครั้ง บางครั้งจะ ออกลูกเป็นตัวหนอนได้ครั้งละ 10-40 ตัว อาจมากกว่านี้ถ้ามีสภาพอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสม